วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

                                                                               แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1.จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของ “ข้อมูล”และ “สารสนเทศ” มาพอเข้าใจ
ตอบ  ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ  เหตุการณ์  กิจกรรม  ธุรกรรม  ซึ่งถูกบันทึก  จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งเก็บข้อมูล  แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจงโดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบ  ตัวอักษร  ตัวเลข  รูปแบบ หรือเสียงก็ได้ และข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
          สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ  โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผล และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจได้
2.การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสำพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
ตอบ  การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่ จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ  เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการจัดจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่   รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบ  โดยแสดงสายการบังคับบัญชา จะเห็นได้ว่า สายการพังคับบัญชามักมีความสำพันธ์กับหน้าที่งานทางธุรกิจ จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การของธุรกิจ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่รับผิดชอบตามภาระงานและอำนาจหน้าที่ซึ่งแตกต่างกันไป
3.การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
ตอบ  การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่มีการดำเนินตามขั้นตอน  8  ขั้นตอน คือ
1 การจัดตั้งทีมงานที่ปรึกษา 
            1.1 บริหารหลักสูตร กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเช่น ผู้จัดการหลักสูตร ผู้ดูแลกิจกรรมฝึกอบรม  ผู้ดูแลงบประมาณและการรายงาน ผู้ดูแลระบบข้อมูล ผู้ประสานงานหลักสูตรพร้อมทั้งระบุชื่อที่อยู่ โทรศัพท์  โทรสาร ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสามารถติดต่อ
             1.2        แผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
การประชาสัมพันธ์และรับสมัคร
            2.1 การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด โดยผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน, หนังสือพิมพ์, การติดประกาศตามสถานที่ที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายจะไปใช้บริการ, การเข้าร่วมประชุมมูลนิธิหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้า อุตสาหกรรมและบริการ ในจังหวัด และการประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เป็นต้น
           2.2 วิธีการรับสมัครผู้สนใจสามารถสมัครได้หลายช่องทาง ทั้งที่เป็นจุดรับสมัครหน่วยงานภาครัฐเช่นอุตสาหกรรมจังหวัด และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด   หอการค้าจังหวัด และสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาจังหวัด เป็นต้น    หรือทางโทรสาร ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้สะดวกและทราบผลการสมัครโดยเร็ว
3.  การสัมภาษณ์และคัดเลือก 
        หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งควรประกอบด้วย การสอบข้อเขียน เพื่อทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดแนวคิดทางธุรกิจของผู้สมัคร การสอบปฏิบัติ เพื่อทดสอบทักษะด้านเทคนิค การสัมภาษณ์  เพื่อวัดทัศนคติ ค่านิยม และศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ
 4. การฝึกอบรมบ่มเพาะ
            4.1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการใหม่    ทุกปี เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสามารถส่งเสริมให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมสามารถจัดตั้งธุรกิจได้     โดยเนื้อหาหลักสูตรในปีงบประมาณ  พ.ศ.2551   ประกอบด้วย       การอบรมภาคทฤษฎีจำนวนไม่น้อยกว่า         96 ชั่วโมง  ปรึกษาแนะนำไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง และ ศึกษาดูงาน    ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า  162 ชั่วโมง
         4.2 วิธีการถ่ายทอดการฝึกอบรมบ่มเพาะ เน้นการเรียนรู้จากกรณีศึกษา   และการเรียนรู้เชิงปฏิบัติมากกว่าการเรียนรู้ในด้านทฤษฎี เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่างๆ ให้เกิดกระบวนการที่สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้
           4.3การช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถพัฒนาแนวคิดโครงการธุรกิจมาเป็นแผนธุรกิจรายบุคคลได้อย่างถูกต้อง ตรงตามหลักสากลนิยม
5.  การนำเสนอและปรับปรุงแผนธุรกิจ
      มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสพบผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนธุรกิจ      เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและการตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจในเบื้องต้น
6.  การให้บริการปรึกษาแนะนำ
         การให้คำปรึกษาแนะนำที่มีประสิทธิภาพและเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้เข้าอบรม    โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจ    หรือขยายธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ   ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ เช่น   ปัญหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจ  การจัดหาผู้รับช่วงงาน เป็นต้น
7.  การติดตามและประเมินผล
           การติดตามความก้าวหน้าและสรุปรายงานผลสัมฤทธิ์การจัดตั้งธุรกิจของผู้เข้ารับการฝึกอบกรม      ทั้งในประเด็นของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ การขยายการลงทุน     การสืบทอดกิจการของทายาท และผลการเปลี่ยนแปลงในกิจการของผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้ว    ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการไว้แล้ว ได้แก่ มูลค่าการลงทุน การจ้างงาน การริเริ่มการผลิตหรือบริการ การจัดหาทำเลที่ตั้งธุรกิจ เป็นต้น
8.  การให้บริการต่อเนื่อง
           ภายหลังจาการเริ่มจัดตั้งธุรกิจ   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม    ยังมีเครื่องมือที่จะให้บริการต่อเนื่องแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่ สามารถดำรงอยู่และพัฒนาธุรกิจของตนต่อไปได้
4.จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
ตอบ  ระดับปฏิบัติการ คือ การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฏิบัติการเปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่น การประมวลผลการบันทึกและการรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ
           ระดับบริหาร คือ กระบวนการสารสนเทศจะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจโดยสามารถจำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางธุรกิจดังนี้
                วิธีที่ 1 ให้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
                วิธีที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
5.ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน ในช่วงเวลาที่ต้องการการตัดสินใจ แต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
ตอบ   สารสนเทศจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธุรกิจแต่ถ้าหากข้อมูลงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศคือ   การวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การช่วยลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจและส่งผลต่อการกำหนดนโยบายสินเชื่อในอนาคตทำให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่จัดได้อยู่ในระดับต่ำยังมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจ เพื่อทราบถึงนัยสำคัญของข้อมูลนั้น   อนึ่งธุรกิจอาจนำสารสนเทศมาใช้เพื่อการตัดสินใจ เช่น รายงานสรุปยอดขายรายไตรมาส    รายงานการจัดอันดับสินค้าขายดี เป็นต้น
6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
ตอบ   ในระดับปฏิบัติการต้องดูแลงานด้านต่างๆเช่น การประมวลผล การบันทึกและการรายงานเหตุการณทางธรกิจและทำให้เกิดการลังเลใจในการตัดสินใจแล้วเกิดการล่าช้าในการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดการเสียโอกาสและอาจทำให้เสียลูกค้า
7. การสั่งการของผู้บริหารระดับสูงในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคน  ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
 ตอบ   ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวนอนซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ที่ส่วนได้เสีย
8. จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
ตอบ  โครงสร้างกระบวนการธุรกิจมือถือมีรายละเอียดดังนี้
                1. กระบวนการปฏิบัติการ
                2. กระบวนการจัดการ
                3. กระบวนการสารสนเทศ
9. องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ    องค์การดิจิทัลจะเป็นการทำงานที่หลากหลายมิติโดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลซึ่งแตกต่างกับองค์การ
            ธุรกิจทั่วไปคือ องค์การธุรกิจทั่วไปจะอาศัยเพียงแต่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัลความถูกต้องแม่นยำก็มีน้อยกว่า
10. องค์การควนดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
ตอบ   ต้องมีการกำหนดวิธีโต้ตอบหลัก 7 วิธี
                1. การจัดการเชิงกลยุทธ์
                2. จุดศูนย์รวมลูกค้า
                3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
                4. การปรับกระบวนการทางดุลการค้า
                5. นวัตกรรมด้านการผลิต
                6. ธุรกิจอิเลกทรอนิคส์และอีคอมเมิร์ช
                7. พันธมิตรทางธุรกิจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น