วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แผ่นพับ อาเซียน


พอเพียง/เพียงพอ

พอเพียง กับ เพียงพอ ต่างกันอย่างไร
ตอบ  คำว่า พอเพียง และ เพียงพอ มีความหมายต่างกัน ถึงแม้จะดูคล้ายกันมาก เนื่องจากประกอบด้วยหน่วยคำ พอ กับ เพียง เหมือนกัน.
คำว่า พอเพียง หมายถึง เต็มที่ตามต้องการ ไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่ขาดแคลน. ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า sufficient เช่น เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มีหลักการคือ รู้จักพออยู่พอกิน และพอเพียงในทุกเรื่อง. การชลประทานทำให้เรือกสวนไร่นามีน้ำอย่างพอเพียง.
ส่วนคำว่า เพียงพอ หมายถึง พอมีแค่ที่กะไว้ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า enough เช่น โรงพยาบาลนี้มีหมอไม่เพียงพอ คนไข้จึงต้องรอนานหลายชั่วโมงกว่าจะได้ตรวจ. ครอบครัวของเขาลำบากมากเพราะรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย. คำว่า เพียงพอ อาจใช้คำว่า พอ แทนได้
สรุปก็คือ พอเพียง เน้นความพอดี ความไม่ขัดสน และไม่ฟุ้งเฟ้อ แต่ เพียงพอ เน้นความจำเป็น หรือความต้องมีตามระดับที่กำหนดไว้ตามความจำเป็น
ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา: Iberry

กรณีศึกษา: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศกรีม  Iberry
คำถาม
1.ประโยชน์ที่ร้านไอศครีม lberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
ตอบ นอกจากประโยชน์ข้างต้นแล้ว ดิฉันคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ทางด้านอื่นอีกมากมาย เช่น
1. ระบบเครือข่ายสามารถช่วยเผยแพร่ร้าน และโปรโหมดสินค้าไอศกรีมรสชาติผลไม้ไทย ให้ลูกค้าได้รู้จักกันมากขึ้น
2. ประเมินผลการปฏิบัติงานต้องถูกต้องและยุติธรรม
3. ได้รับความสะดวกร้วดเร็วในการตรวจเช็คงาน
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเช็คข้อมูลร้านที่มีหลายสาขา
5. ป้องกันการทุจริตของพนักงานและควบคุมดูแลพนักงานยังสาขาย่อยต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง
2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศกรีม Iberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้าง
ตอบ ในอนาคตร้านไอศกรีม Iberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านอื่น ๆ ได้อีก เช่น
1.  ด้านการวางแผน สามารถนำใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2.  ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.  ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

3.จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศครีม Iberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ธุรกิจ การผลิตรถยนต์
          1.ในด้านของโปรแกรม ใช้ไอทีสร้างระบบเซ็นเซอร์เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่ ขับขี่อย่างปลอดภัยในกรณีที่ระบบเซ็นเซอร์ทำหน้าที่ในการตรวจสแกนว่ามีวัตถุสิ่งขีดขวางหรือรถที่ขับขี่มาเข้าใกล้เราโดยระบบเซ็นเซอร์จะทำงานและแจ้งสถานภาพของตัวรถว่าอยู่ในระดับที่อาจไม่ปลอดภัย
          2.ซอฟต์แวร์ที่ผลิตมาพร้อมกับตัวรถจะช่วยอำนวยความสะดวกทั้งทางด้านความปลอดภัย สมรรถนะ รวมถึงการคำนวณเป็นตัวเลขเชิงสถิติที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล   ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ช่วยในการคำนวณค่าความประหยัดน้ำมัน 
          3.ระบบไอที ในโรงงานจะช่วยควบคุมเครื่องจักรในการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ในสายการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยทุ้นแรงคนงานได้เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด

                                                       บทที่ 1

ระบบสารสนเทศ คืออะไร ?

ตอบ   ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
                ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล      (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
                 ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
                   สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ   เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่างในงานประยุกต์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (input) แล้วนำมาประมวลผล (process) ให้เป็นสารสนเทศ (information) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน

หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
ตอบ    การนำระบบสนเทศมาใช้ในองค์กร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
              1. ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ(Information) มาช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ การจัดการ และการควบคุมที่ดีขึ้น
              2. ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการการงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยการเสริมทางด้านการติดต่อ สื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
              3. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้น และถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเช่นเดียวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อหรือหรือหามาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ
องค์กร
             4.ผู้บริหารทุกคนถือว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการ และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ 
           5.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง วัฒนธรรม และอิทธิพลทางการเมืองในองค์กรหน่วยงานสารสนเทศหรือหน่วยงานทีมีส่วนในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร
แหล่งที่มา: http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128090/dex16.html
การพัฒนาและการใช้ระบบสารสนเทศ
ตอบ  การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การสร้างระบบงานใหม่หรือการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยอาจนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล เรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บ ให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1)  การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC
2)  การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 :  ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้
ขั้นที่ 2 :  พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก
ขั้นที่ 3 :  นำต้นแบบมาใช้
ขั้นที่ 4 :  ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ
3)  การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)
4)  การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing
5)  การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ระบบสารสนเทศ ( IS ) ต่างกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT ) อย่างไร
ตอบ      ระบบสารสนเทศ ( IS ) ต่างกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT ) ดังนี้
ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage)ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (Information technology

จะเรียนอะไรในวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
ตอบ  นักศึกษาจะเรียนการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ  ในวิชาสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อประโยชน์การในการทำธุรกิจ เพราะ
1. ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น เพราะสามารถจัดเก็บ รวบรวม ประมวลผล และเผยแพร่
ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ในลักษณะที่เรียกว่า Real Time นอกจากนี้ยังทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้ทั่วโลก
ภายในเวลาที่รวดเร็วไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าได้ทำให้มิติด้านเวลาและสถานที่
(Time and Space) ไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป
2. ทำให้ประสิทธิผลการทำงานดีขึ้น ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการให้ตรงตาม
ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร ส่งผลให้การ
ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างดี
3. ทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน โดยนำมาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุน
4. ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น หากมีการออกแบบโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความต้องการ
ของคนและประสิทธิภาพของเทคโนโลยี เช่น การประชุมแบบ VDO conference ทำให้คนไม่ต้อง
เสียเวลาในการเดินทาง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่มากขึ้น