วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4


คำถามทบทวน
1. จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ ความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่ในระบบให้ สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในระดับต่อไปนอกจากนี้ผู้บริหาร ยังใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์กาความผิดพลาดหรือหาความก้าวหน้าในการทำงาน โดยอาจใช้ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับค่าประมาณ ที่วางแผนไว้ แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารระดับสูงจะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือวงแผนระบบงานต่อไป

2. จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ การพัฒนากลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้นตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลาดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ หลาย หน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครง สร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่า ในอดีต จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น  จึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนี้
-  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว 
-  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว
-  เพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง

3. หากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องแล็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านจะพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางการจัดการประเภทใด เพราะเหตุใด
ตอบ   ประเภทระบบผู้เชี่ยวชาญ   เพราะเป็นระบบคอมพิวเตอร์   ที่สามารถแนะนำและกระทำการดัง    เช่น  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้นๆ ซึ่งประสบการณ์ที่สะสมเป็นเวลานานก็จะไม่สูญหายไป หากผู้เชี่ยวชาญนั้นเสียชีวิต ลาออก หรือย้ายที่ทำงานใหม่

4. ระบบสารสนเทศประเภทใดที่จัดเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง ซึ่งมีการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้เพื่องานประมวลผล สารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ    ระบบสนับสนุนผู้บริหาร

5. จงจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศทางธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม
ตอบ    แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. แบบใช้สาย แบ่งเป็น แบบสายเกลียวคู่ (Twisted-pair wires) และ แบบสายเคเบิลร่วมแกน (Coaxial cable) และแบบสายเคเบิลใยแก้ว (Fiber optic)
2. แบบไร้สาย แบ่งเป็น การส่งข้อมูลโดยใช้คลื่นไมโครเวฟ และ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพกพา และ ระบบคลื่นวิทยุ และระบบอินฟราเรด

6. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงต้องมีพัฒนาการด้านระบบสารสนเทศตามยุคสมัย
ตอบ   เพราะจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเอาชนะคู่แข่งขันในการดำเนินงานทางธุรกิจที่จะต้องมีการแข่งขัน อยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศมาใช้ใน การตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น

7. การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลยุทธ์ เทคโนโลยีกระบวนการในการเชื่อมโยงกิจการกับภายนอกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องในการดำเนินการด้านข้อมูล การสร้างธุรกรรมทางการค้า ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์หนึ่งไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งได้ในอนาคต

8. จงอธิบายการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การกับอีคอมเมิร์ซ
ตอบ   อีคอมเมิร์ซมีการเชื่อมต่อกับองค์การด้วยการประกอบธุรกรรมในรูปแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ ดำเนินการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของเว็บ เพื่อการเข้าถึงผู้คนนับล้านคน ณ สถานที่ใดหรือเวลาใดก็ได้ เป็นต้น

9. เทคโนโลยีความจริงเสมือน มักถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านใดบ้าง
ตอบ  ทหาร การแพทย์ การศึกษา การประเมิน การออกแบบ ปัจจัยมนุษย์ สถาปัตยกรรม การศึกษาด้านเออร์โกโนมิกส์ การจำลองลำดับของการประกอบ และบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์

10. เพราะเหตุใดกลุ่มผู้ตัดสินใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มจึงเกิดความเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิดเห็น โดยไม่หวั่นเกรงข้อโต้แย้งใดๆ
ตอบ   เพราะ การไม่ระบุชื่อผู้นำเข้าข้อมูล ซึ่งจะทำให้การประเมินผลงานที่ปราศจากการเกรงกลัวใดๆ และยังช่วยให้     ผู้นำเข้าข้อมูลเกิดความเชื่อมั่นในความเหมาะสมของผลการประเมิน การลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน เป็นการป้องกันอำนาจที่ครอบงำสมาชิกในกลุ่ม และการสื่อสารทางขนาน ซึ่งจะช่วยลดเวลาการประชุมและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการตัดสินใจของกลุ่มร่วมงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น