วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
 1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คืออะไร
ตอบ การวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ มีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุก
2. เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน 

2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ตอบ  แนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีในอนาคต Turben et al. (2006, p. 27) ได้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ซึ่งผู้บริหารขององค์การควรคำนึงถึง เพื่อทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำไปใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและในอนาคตดังนี้
1. ชิป
2. หน่วยเก็บ
3. สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง
5. คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม
6. นาโนเทคโนโลยี
สรุปได้ว่าการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้ใช้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดเนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและมีความซับ ซ้อนสูง

3.จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ซ
ตอบ ตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ซ คือการประกอบธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่เป็นรูปแบบของการสับเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการโซ่อุปทาน การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิคส์ ตลาดอิเล็กทรอนิคส์ รัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์ การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่ และการพาณิชย์แบบร่วมมือ

4.หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
ตอบ  หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำธุรกิจ ซึ่งโดยปกติองค์การธุรกิจสมัยใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย

5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับอันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
ตอบ  ผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับ อันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ดังนี้
1. เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้ชุดคำสั่งของ ระบบประยุกต์เพื่อการปฏิบัติงานที่เกิดผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
2. เป็นการสร้างความยืดหยุ่นการปฏิบัติงาน การจัดการ และการตัดสินใจ
3. เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6. เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7. เป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างองค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์การที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

6. การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
ตอบ การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็ก จะต้องพิจารณาเลือกซอฟแวร์เชิงที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ นั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองแล้วนั้น ความต้องการข้อมูลมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาจเลือกใช้แนวทางการใช้บริการภายนอกหรือการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในธุรกิจการ เองก็ได้แล้วแต่ความพร้อมในด้านต่างๆ ของธุรกิจ

7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอกเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคืออะไร
ตอบ ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอกเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคือ รูปแบบ ของการจัดจ้าองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์จัดอยู่ใน รูปแบบสนับสนุนจากผู้ขายซึ่งก็คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้นโดยผ่านการอกแบบการทำให้เกิดผลและการ บำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า

8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใดที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
ตอบ  วิธีการพัฒนาระบบทั้ง 5 วิธี ไม่ว่าจะเป็น วิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ ล้วนแล้วแต่สอดคล้องกับวิธีจากบนลงล่างทั้งสิ้น

9. วิธีการพัฒนาระบบใด ที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบมากที่สุด
ตอบ  วิธีการพัฒนาระบบที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบมากที่สุด คือ วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว โดยมีวัฏจักรการพัฒนาระบบแบบสั้นๆ และสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้ดี

10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
ตอบ  เนื่องจากหากต้องการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่มักใช้วิธีการพัฒนาแบบจำลองน้ำตก เนื่องจากว่าแบบจำลองน้ำตกเป็นวิธีการที่มีความละเอียดมากที่สุดเพราะหากว่า ภายในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งมีความผิดพลาดแล้วจะต้องกลับมาแก้ไขใหม่ตั้งแต่ ต้นซึ่งแตกต่างจากวิธีอื่นๆ

11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
ตอบ  การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ ต่อผู้ใช้คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกันทั้งผังสามารถดำเนินการพัฒนาระบบจนได้ ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

12. จงเขียนแผนภาพกระแสงานของระบบทะเบียนนักศึกษา ในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการวัดผลประเมินผลการเรียน











วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 3


การพัฒนาระบบสารสนเทศ
                การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือทิศทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ภายในองค์การ การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศจึงเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเทคนิคของการศึกษาวิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น

การวางแผนระบบสารสนเทศ
 1.แนวคิด
            จากสภาพแวดล้อมธุรกิจปัจจุบันได้เกิดสภาวการณ์ของการแข่งขันในทางธุรกิจที่รุนแรงขึ้น ธุรกิจจึงได้นำข้อมูลและสารสนเทศ มาใช้เป็นอาวุธสำคัญสำหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการแข่งขันหรือการตอบโต้กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อกำหนดถึงระบบที่ต้องการพัฒนาตามลำดับก่อนหลัง
2. กลยุทธ์ธุรกิจ
ก่อนที่จะทำการวางแผนระบบสารสนเทศ ควรมีความเข้าใจความหมายของกลยุทธ์ธุรกิจและการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 ความหมาย  ณัฐพันธ์ เขจรนันทร์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล (2548,หน้า212)ได้กล่าวไว้ว่าในอดีต กลยุทธ์จะหมายถึง ศาสตร์หรือศิลป์ที่ใช้ในการบังคับบัญชากองทัพ แต่ในเวลาต่อมามีการนำ “กลยุทธ์” ไปใช้หลากหลายแนวทาง โดยเฉพาะในส่วนการดำเนินงานเชิงรุกของธุรกิจ ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก
2.1.1 กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate  Strategy)
2.1.2 กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (Busimess Strategy)
2.1.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่งาน (Functional  Strategy)
2.2 การกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ  Porter  ให้ความเห็นว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต้องมีการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ หรือสินค้าที่มีราคาต่ำ หรือทั้งสองอย่างให้กับลูกค้า อีกทั้งสรุปกลยุทธ์พื้นฐาน 2 กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 ต้นทุนต่ำที่สุด (Lowest-cost Strategy)
กลยุทธ์ที่ 2 ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation Strategy)
3. กระบวนการวางแผน
ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์(2548,หน้า 153) จำแนกกระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ซึงถือเป็นงานแรกของการวางแผนระบบสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันโดยพื้นฐานความเป็นจริง
 ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนสิ่งแวดล้อม เป็นการค้นหาผลกระทบ ที่มีต่อแผนระยะยาว
ขั้นตอนที่ 3 การจับประเด็นกลยุทธ์ เลือกทิศทางที่องค์การจะก้าวไปในอนาคตหรือในระยะยาวเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้               
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดนโยบาย โดยใช้กลยุทธ์เป็นตัวบอกถึงทิศทางที่ธุรกิจดำเนินไปเป็นแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์               
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดขั้นตอนการทำงาน เพื่อควบคุมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนทั้ง 5 ขั้น               
4. การวางแผนเชิงกลยุทธ์
            เพื่อนำมาใช้สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคูแข่งขัน จึงจำเป็นต้องกำหนดแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น
                ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานสารสนเทศ โดยการสร้างทีมงาน
                ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสภาวะแวดล้อม โดยประเมินความเสี่ยง
                ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ
                ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดแนวทางกลยุทธ์ การใช้สารสนเทศระยะยาว
                ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดนโยบายสารสนเทศ เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
                ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนระยะยาวและระยะสั้น
                ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวที่วางไว้

การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เพื่อประโยชน์การติดต่อสื่อสาร โดยมีจุดเน้นการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใช้เทคโนโลยีภายใต้สำนักงานอัตโนมัติ เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยลงและก่อให้เกิดสภาพสำนักงานไร้กระดาษ  มีดังนี้
1.1      เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1.2      เทคโนโลยีฐานข้อมูล
1.3      เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ
1.4      เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ
1.5      เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล
1.6      เทคโนโลยีการทำดิจิทัลให้เหมาะที่สุด
1.7      เทคโนโลยีไร้สาย
1.8      เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน
1.9      เทคโนโลยีระบบประยุกต์ด้านการสื่อสาร
2. แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
               Turban et al. (2006, p.27) ได้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ที่กำลังได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนี้
       2.1 ชิป
       2.2 หน่วยเก็บ
       2.3 สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์
       2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วย
       2.5 คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม
       2.6 นาโนเทคโนโลยี

 การได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ
1.การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์
 Hall (2004,p.7) ได้ระบุไว้ว่าในการจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์จากตลาดสามารถเลือกใช้ 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 ระบบพร้อมสรรพ
รูปแบบที่ 1 ระบบแกนหลัก
2.การใช้บริการภายนอก   
            เป็นรูปแบบของการจัดจ้าองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์  จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งหลายๆ องค์การนิยมใช้ในการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ
3.การพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในองค์การเอง
องค์การจึงจำเป็นต้องจัดตั้งทีมงานพัฒนาระบบภายในองค์การหรือห้างร้านที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีความต้องการด้านสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะและความต้องการข้อมูลมักเปลี่ยนแปลงเสมอ อาจเลือกใช้แนวทางการใช้บริการภายนอกหรือการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานเองภายในองค์การ กระบวนการพัฒนาระบบ โดยทั่วไปนิยมใช้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบวัฏจักรการพัฒนาระบบ และรูปแบบวิศวกรรมสารสนเทศ

การพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบ คือ แนวทางการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ในองค์การ อาจใช้เงินลงทุนและช่วงเวลาในการพัฒนาระบบค่อนข้างสูงต้องสร้างทีมงานพัฒนาระบบขึ้น ในส่วนนี้กล่าว 3 หัวข้อ คือ
1.ระเบียบวิธีพัฒนาระบบ
                บางองค์การต้องการเพียงแค่ปรับปรุงระบบเดิม แต่บางองค์การต้องการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ทั้งระบบ ซึ่งจำแนกได้ 5 วิธี ดังนี้
1.1 วิธีการพัฒนาระบบ  เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยแบบจำลองน้ำตก ดังนี้
1.1.1 แบบอนุรักษ์
1.1.2 แบบตรวจทบทวน
1.1.3 แบบเหลื่อม
1.2 วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ     มีการแทรกขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบ อยู่ระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบ
1.3 วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว  ภายใต้งบประมาณที่ต่ำ และใช้ทรัพยากรน้อย โดยมัวัฏจักรการพัฒนาระบบแบบสั้น ๆ และสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดี
1.4 วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น เพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงและร่วมกันทดสอบ ระบบว่าพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หรือไม่
1.5 วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ  เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ระบบที่มีอยู่เดิม เสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยมุ่งเน้นถึงการกำหนดปัญหา และการหาทางออกของปัญหา
2. วัฏจักรการพัฒนาระบบ
                คือ ขั้นตอนหรือกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาระบบประยุกต์ใช้งานทางคอมพิวเตอร์ทั่วไปในการดำเนินการพัฒนาระบบให้สมบูรณ์แบบของแต่ละขั้นตอนโดยทีมงานมืออาชีพ ที่มักนิยมใช้แบบจำลองน้ำตก โดย เชลลี, แคชแมน และโรเซนแบลทท์ (Shelly, Cashman and Rosenblatt,2546, p.19)  จำแนกได้เป็น 5 ขั้นตอน
2.1 การวางแผนระบบ
2.1.1 การกำหนดและเลือกโครงการ
2.1.2 การริเริ่มและวางแผนโครงการ
2.2 การวิเคราะห์ระบบ
2.3 การออกแบบระบบ
2.4 การทำให้เกิดผล
2.4.1 การพัฒนาโปรแกรม
2.4.2 การทดสอบโปรแกรม
2.4.3 การอบรมผู้ใช้
2.4.4 การทำให้เกิดผล
2.4.5 การประเมินผลกระทบ
2.5 การสนับสนุนระบบ
 3. วิศวกรรมสารสนเทศ
ในส่วนวิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering : IE) โดยมักนำมาใช้ร่วมกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่างที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
3.1 การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศ
3.2 การวิเคราะห์ส่วนของธุรกิจ
3.3 การออกแบบระบบ
3.4 การสร้างระบบ
 4. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ
4.1 กลยุทธ์ของธุรกิจ ธุรกิจควรทำการกำหนดกิจกรรมการทำงานของระบบสารสนเทศให้มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศและแผนกลยุทธ์ของธุรกิจเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ โดยจะแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละงานออกจากกัน และเพิ่มกระบวนการควบคุมและตรวจสอบ
4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การนำรหัสแท่งมาใช้ในงานด้านการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจ เพื่อผลของการบันทึกข้อมูลทางการบัญชี รวมทั้งมีการปรับยอดคงเหลือของสินค้าซึ่งเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ผู้บริหารมีหน้าที่คอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์
4.3 วัฒนธรรมองค์การ เช่น การกระจายอำนาจของการตัดสินใจ การจัดโครงสร้างองค์การให้แบนราบ เป็นต้น

เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างเพื่อแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบความ
สัมพันธ์ระหว่างข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งออกกับกระบวนการ แต่ไม่สื่อให้เห็นถึงวิธีการประมวลผล โดยใช้สัญลักษณ์สื่อความหมายให้เข้าใจและเขียนในลักษณะรูปภาพหรือแผนภูมิ ถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ
เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสงาน
1.สัญลักษณ์ที่ใช้สร้างแผนภาพ
2.ระดับของแผนงาน
ระดับที่ 1 แผนภาพบริบท
ระดับที่ 2 แผนภาพระดับหนึ่ง
ระดับที่ 3 แผนภาพระดับสอง
3.ตัวอย่างของแผนงาน
เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสงาน            
นิยมนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้พัฒนาระบบและผู้ใช้ระบบ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน อีกทั้งยังใช้แสดงทิศทางของกระแสลานที่เกิดขึ้นภายในระบบ เพื่อนำส่งต่อผู้รับสารสนเทศ ในการเขียนแผนภาพกระแสงาน จะสามารถใช้สัญลักษณ์ และสัญรูปใด ๆ ก็ได้ ซึ่งอาจเขียนในลักษณะของระบบ คือ เริ่มจาก ข้อมูลนำเข้าไปสู่กระบวนการและไปสู่ข้อมูลส่งออก เพื่อง่ายต่อการใช้วิเคราะห์กระแสงานที่เกิดขึ้นภายใน

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
1. แนวคิด
                ระบบสารสนเทศทีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ในส่วนของการช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจให้อยู่รอดในอนาคต อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ
2. กระบวนการจัดการ
                2.1 การวางแผน จะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ
                2.2 การจัดโครงสร้าง อาจอยู่ในรูปแบบของศูนย์คอมพิวเตอร์หรือฝ่ายระบบสารสนเทศ มีการกำหนดตัวผู้บริหารระดับสูงให้ดำรงตำแหน่ง ซีไอโอ เพื่อควบคุมดูแลการทำงานของบุคลากร
                2.3  การจัดลำดับงาน เป็นเป้าหมายของการพัฒนาระบบ มักจะมีความสำคัญแตกต่างกันจึงจำเป็นต้องจัดลำดับก่อน- หลังของระบบ
                2.4 การควบคุม เป็นเป้าหมายของการควบคุมดูแล ประกอบด้วยมาตรฐานของอุปกรณ์ การพัฒนาระบบ การปฏิบัติการ ความมั่นคงของระบบ รวมทั้งการงบประมาณ
                2.5 การสั่งการ ครอบคลุมถึงงานทุกด้านของระบบสารสนเทศ ภายใต้การสั่งการของผู้บริหาร เป็นงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความสามารถด้านการสื่อสารของผู้บริหาร
                2.6 การรายงาน จัดทำรายงานสรุปเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน
                2.7 การจัดทำงบประมาณ โดยมีการคาดคะเนค่าใช้จ่าย  เพื่อทำการเสนอของบประมาณค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ หลังจากนั้น จึงควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้เป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งไว้
 3. การจัดการทรัพยากรฮาร์ดแวร์
               เพื่อสามารถบริหารการใช้ทรัพยากรได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอุปกรณ์ด้านหน่วยเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้ระบบงานแบบออนไลน์ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการวางแผนเพื่อขยายความจุของระบบ ตลอดจนมีการติดตามแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  4. การจัดการทรัพยากรซอฟต์แวร์
                รวมถึงซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ตลอดจนซอฟต์แวร์ของระบบสื่อสาร ผู้บริหารจึงต้องตัดสินใจในการจัดหาและใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ เช่น ควรจะใช้วิธีเช่าซอฟต์แวร์หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง เป็นต้น ปัจจุบัน ผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์แบบออนไลน์ทั้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายส่วนตัวที่เรียกว่า เอเอสพี ผลลัพธ์ คือ ระบบสารสนเทศทันสมัยอยู่เสมอ
5. การจัดการทรัพยากรข้อมูล
               ธุรกิจจะจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องอาศัยซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล ในส่วนของการจัดเก็บค้นคืนและควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล มีการสร้างรูปแบบของฐานข้อมูลหลายมิติ  เพื่อช่วยงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับซอฟต์แวร์ด้านวิเคราะห์ข้อมูลโดยตรงและมักจะนำมาใช้ในด้านงานการตลาด  เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลในอดีตและปัจจุบันที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังพัฒนาซอฟต์แวร์เหมืองข้อมูล มาใช้งานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
 6. การจัดการทรัพยากรระบบสื่อสารและเครือข่าย
             ควรคำนึงถึงการเลือกช่องทางการสื่อสารทั้งชนิดใช้สายและไร้สาย รวมทั้งความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล โทโพโลยี ของระบบเครือข่าย ขอบเขตการใช้งานของระบบ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการะบบเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม โดยบริการให้เช่าเครือข่ายส่วนตัวเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลขององค์การกับองค์การอื่น ซึ่งใช้ระบบการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

โครงสร้างหน่วงงานสารสนเทศ
1.หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อสนองความต้องการของธุรกิจและผู้ใช้สารสนเทศ เพื่อเสนอโครงร่างระบบงานใหม่ที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นใช้ในอนาคต
2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่นำโครงร่างของการออกแบบระบบงานใหม่ มาพัฒนาชุดคำสั่งเพื่อใช้งานในระบบสารสนเทศ การพัฒนาชุดคำสั่งเพื่อใช้งานในระบบสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชุดคำสั่งของระบบละชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ บุคลากรในหน่วยงานนี้ คือ โปรแกรมเมอร์และวิศวกรชุดคำสั่ง
3. หน่วยปฏิบัติการและบริการ คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมและจัดการส่วนฮาร์ดแวร์ ตลอดจนอุปกรณ์สนับสนุนให้สามารถทำงานร่วมกันได้ อีกทั้งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ บุคลากรในหน่วยงานนี้ คือ พนักงานควบคุมเครื่อง พนักงานควบคุมเวลาการใช้ระบบ และพนักงานจัดเก็บสื่อและข้อมูล

บุคลากรด้านสารสนเทศ
1. หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ ( Chief Information Officer : CIO) คือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารระบบสารสนเทศ และมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการวางแผน การกำหนดนโยบาย การควบคุมการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานต่าง ๆ
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA) คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบประยุกต์ใช้งานในองค์การ ตลอดจนวางแผนในระยะยาว เพื่อการนำระบบประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ภายใต้การทำงานของระบบงานใหม่
3. ผู้เขียนชุดคำสั่ง (Programmer) คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมงานที่ปฏิบัติในระบบต่าง ๆ สร้างกระบวนการคิดเป็นระบบและขั้นตอน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เขียนชุดคำสั่งของระบบและผู้เขียนชุดคำสั่งประยุกต์งาน
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โดยทำการวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขการหยุดชะงักของระบบได้
5. ผู้จัดตารางเวลา (Scheduler) คือ บุคลากรผ้ทำหน้าที่จัดสรรเวลาใช้เครื่องให้กับงานแต่ละงาน เพื่อให้การใช้เวลาในการประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะงานและการทำงานด้านการประมวลผลข้อมูล
6. บรรณารักษ์ (Librarian) คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่เก็บรักษาสื่อบันทึกซึ่งใช้เก็บข้อมูลและชุดคำสั่งระบบงาน มีการจัดทำรายการและดรรชนี เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
7. พนักงานบันทึกข้อมูล (Data Entry Operator)  คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่นำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้น มาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้