วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดที่ 2

แบบฝึกหัดที่ 2
1.GIGO มาจากคำเต็มว่าอะไร โดยนิยามดังกล่าว ต้องการมุ้งเน้นถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ตอบ    gigo  (กิโก) ย่อมาจาก garbage in ,  garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออก มุ่งเน้นถึงการใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่าถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่งเป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลเลว ๆให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลเลว ๆ) เข้าไปก็จะได้ขยะ (สารสนเทศเลว ๆ)ออกมา

2.การที่องค์กร หรือภาคธุรกิจทั่วไปในปัจจุบัน นิยมนำระบบสารสนเทศมาใช้งานกันมากขึ้นและสามารถเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศกันง่ายขึ้น สืบเนื่องมาจากสาเหตุใด ยกตัวอย่าง
ตอบ       เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)หมายถึง  เทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และมีความสำคัญมากในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวางและมีการประยุคใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัยเกิดขึ้นเรื่องยๆทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการรับส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านมือถือ มีการดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆรวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูและเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางธุรกิจ เพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร
ตัวอย่าง สาเหตุสืบเนื่องที่ภาคธุรกิจนิยมนำระบบสารสนเทศมาใช้งานและสามารถเป็นเจ้าของกันมากขึ้น
             เนื่องจากในยุคต่อไปคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้นและมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่า สังคอมยูบิคิวตัส คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่งนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือนักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจและมีบทบาทสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและอนาคต

3.อยากทราบว่า เหตุผล 3 ประการที่ธุรกิจต่างก็นำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรมีอะไรบ้าง
ตอบ   เหตุผล 3 ประการ ที่นักธุรกิจต่างก็นำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร  คือ
1.             นำไปใช้ในการประมวลผลรายการ และการจัดทำรายงาน
2.             นำไปใช้ในการช่วยการตัดสินใจ
3.             นำไปใช้ในการช่วยการติดต่อสื่อสาร

4.ให้ยกตัวอย่างถึงกิจการที่ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจใหม่ โดยการนำสิ่งใดมาประยุกต์ใช้
ตอบ    กิจการที่ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจใหม่
ตัวอย่าง  ธุรกิจให้บริการเช่าสนามฟุตบอลออนไลน์
             จากนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของภาครัฐ ทำให้ประชาชนออกกำลังกายกันมากขึ้น โดยกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งทัศนคติของผู้ที่เล่นกีฬาฟุตบอลนั้นมีความต้องการเล่นในสนามที่ได้มาตรฐานและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน จึงทำให้มีผู้สนใจประกอบกิจการสนามฟุตบอลให้เช่าเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยปัจจุบันกิจการสนามฟุตบอลให้เช่าที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีมากกว่า 170 กิจการ และมีจำนวนสนามมากกว่า 400 สนาม รองรับผู้เล่นได้ประมาณ 4,800 คนต่อชั่วโมง
            ซึ่งจากจำนวนของธุรกิจสนามฟุตบอลให้เช่าที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมา จากการแย่งลูกค้าระหว่างกันและการแข่งขันทางด้านราคา ทำให้รายได้ของผู้ประกอบกิจการสนามฟุตบอลให้เช่ามีสภาวะไม่คงที่ อันเนื่องมาจากสนามที่มีอยู่มีผู้มาใช้บริการไม่เต็มตามความจุของสนามและผู้เล่นมาใช้บริการอย่างไม่สม่ำเสมอ โดยส่งผลให้จุดคุ้มทุนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับฟุตบอลเป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีม และต้องใช้ผู้เล่นตั้งแต่สองทีมขึ้นไป โดยจำเป็นต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 12คนต่อการเล่นหนึ่งครั้ง
            ดังนั้นจึงทำให้เกิดความไม่สะดวกในการชักชวนบุคคลจำนวนมากเพื่อมาเล่นฟุตบอลด้วยกันและในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ผู้เล่นยังไม่ได้รับความสะดวกในการค้นหาสนามที่ว่างในช่วงเวลาที่ต้องการเล่น โดยหากสนใจที่จะจองสนามผู้จองจะต้องค้นหาข้อมูลของสนาม เช่น เบอร์โทรศัพท์และสถานที่ตั้ง หลังจากนั้นผู้จองจะต้องโทรสอบถามสนามทีละแห่ง โดยหากพบว่าสนามไม่ว่างก็จำเป็นต้องหาข้อมูลของสนามแห่งใหม่ และเริ่มกระบวนการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นใหม่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง จนกว่าจะพบสนามที่ว่างและหากพบสนามที่ว่าง ก็จำเป็นต้องสอบถามเพื่อนทุกคนอีกครั้งว่า สามารถมาเล่นที่สนามดังกล่าวได้หรือไม่
การนำระบบออนไลน์มาประยุกต์ใช้
            ปัญหาของธุรกิจกิจการสนามฟุตบอลให้เช่า ทำให้เราพบช่องว่างของตลาดและโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งบริษัท ฟุตบอลฮีโร่ จำกัด จะมาเติมเต็มและแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ โดยเราจะเป็นศูนย์กลางในการรับจองสนามฟุตบอลผ่านระบบออนไลน์แบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว ทั้งยังมีระบบบันทึกผลการเล่นเพื่อใช้วัดผลในการเล่นของแต่ละทีม และสร้างเครือข่ายสังคมของผู้ชื่นชอบการเล่นฟุตบอลเพื่อให้ผู้เล่น สามารถหาทีมที่จะมาเล่นฟุตบอลด้วยกันได้สะดวกรวดเร็ว และง่ายขึ้น โดยบริษัทฯ จะทำสัญญาเช่าสนามระยะยาว กับกิจการสนามฟุตบอลให้เช่าที่ตั้งกระจายอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เปรียบเสมือนบริษัทมีสนามเป็นของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างสนามฟุตบอลเอง โดยเราจะเป็นผู้ให้บริการรับจองสนามฟุตบอลที่มีเครือข่ายผู้ใช้บริการ และเครือข่ายสนามฟุตบอลใหญ่ที่สุด และคำว่า Football Hero จะเป็นชื่อแรกเมื่อนึกถึงระบบการจองสนามฟุตบอล
            ซึ่งบริษัทฯ จะได้กำไรจากส่วนต่างระหว่างรายรับที่ได้จากการที่ผู้เล่นฟุตบอลที่จ่ายค่าเช่าสนามให้กับบริษัทฯ กับส่วนลดค่าเช่าสนามที่บริษัทได้รับจากการทำสัญญาจองสนามในระยะยาว โดยมีกลุ่มเป้าหมายทาง  ธุรกิจอยู่สองกลุ่มคือ กลุ่มกิจการ(สนาม)ที่จะทำสัญญา และ กลุ่มผู้เล่นฟุตบอล
            กิจการ(สนาม) ที่จะทำสัญญา คือ กิจการที่มีสนามเป็นชนิดหญ้าเทียม ดำเนินกิจการมาแล้ว 1-3 ปี ค่าเช่าสนามประมาณ 1,200 บาท/ชั่วโมง มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน และตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่มีประชากรหนาแน่น กลุ่มผู้เล่นฟุตบอล คือ ผู้เล่นฟุตบอลวัยทำงานใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ มีบุคลิกภาพที่เป็นมิตร เข้ากับคนอื่นได้ดีมีความคิดสร้างสรรค์ และ ชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่ายของผู้เล่นฟุตบอลให้ได้ 15,000 คนใน 3 ปีแรก และเพิ่มขึ้น 10% ทุกปี และมีกิจการสนามฟุตบอลเข้าร่วมในระบบ 10 กิจการในปีแรก และ เพิ่มขึ้น 5 กิจการทุกปี บริษัทจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,000,000 บาท โดยระดมเงินทุนจากผู้ถือหุ้นและให้ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 15,136,171 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการคิดเป็นร้อยละ 152.81 ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่การลงทุน โดยมีระยะเวลาในการคืนทุนเท่ากับ 1 ปี 7 เดือน

               



วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา งานกลุ่ม

งานกลุ่ม  4 คน
กรณีศึกษาจริง: ระบบอินทราเน็ตที่ว่า “ระบบสารสนเทศของทุก ๆ คน
คำถามจากกรณีศึกษา
1.ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายเป็น “ระบบสารสนเทศของทุก ๆ คน”
ตอบ   การทำร่วมกันในระบบอินทราเน็ตเป็นสิ่งที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้กล่าวได้ว่า “ระบบสารสนเทศของทุกๆคน” (Everyone’s Information) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลาย ๆ แห่ง

2.อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
ตอบ  บริษัทใช้การสนทนาระบบออนไลน์ภายในเครือข่ายพื้นที่ปฏิบัติการ โดยวิศวกรที่มีความชำนาญจากทุกมุมโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงของบริษัทและโครงการทางวิศวกรต่างๆ ซึ่งในการสนทนาผ่านทางระบบ PAN จะตั้งหัวเรื่องในการสนทนา  โดยใช้ซอฟต์แวร์ Fulcrum และจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล Oracle หลังจากที่ได้มีการสนทนาและโต้เถียงกันเป็นเวลานานระหว่างวิศวกรและผู้บริหารในบริษัทโดยผ่าน Fulcrum ที่ใช้เป็นเครื่องมือค้นหาและเครื่องมือภายในกลุ่ม

3. อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ
สะพานแขวน 10 ช่องทางที่ออกแบบโดยบริษัท ซึ่งสะพานดังกล่าวไม่เพียงจะสวยงาม แต่ยังช่วบลดปัญหาการจราจรบนท้องถนนภายในเมือง Boston ได้อีกด้วย ซึ่งสะพานนี้จะเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก




          สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวกฤษฎาวดี   เข้าเมือง
2.นางสาววราพร         สมสวย
3.นางสาวอัฉรา           ชนะ
4.นางสาวดวงดาว       จำปาทอง

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

                                                                               แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1.จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของ “ข้อมูล”และ “สารสนเทศ” มาพอเข้าใจ
ตอบ  ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ  เหตุการณ์  กิจกรรม  ธุรกรรม  ซึ่งถูกบันทึก  จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งเก็บข้อมูล  แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจงโดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบ  ตัวอักษร  ตัวเลข  รูปแบบ หรือเสียงก็ได้ และข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
          สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ  โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผล และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจได้
2.การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสำพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
ตอบ  การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่ จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ  เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการจัดจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่   รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบ  โดยแสดงสายการบังคับบัญชา จะเห็นได้ว่า สายการพังคับบัญชามักมีความสำพันธ์กับหน้าที่งานทางธุรกิจ จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การของธุรกิจ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่รับผิดชอบตามภาระงานและอำนาจหน้าที่ซึ่งแตกต่างกันไป
3.การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
ตอบ  การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่มีการดำเนินตามขั้นตอน  8  ขั้นตอน คือ
1 การจัดตั้งทีมงานที่ปรึกษา 
            1.1 บริหารหลักสูตร กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเช่น ผู้จัดการหลักสูตร ผู้ดูแลกิจกรรมฝึกอบรม  ผู้ดูแลงบประมาณและการรายงาน ผู้ดูแลระบบข้อมูล ผู้ประสานงานหลักสูตรพร้อมทั้งระบุชื่อที่อยู่ โทรศัพท์  โทรสาร ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสามารถติดต่อ
             1.2        แผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
การประชาสัมพันธ์และรับสมัคร
            2.1 การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด โดยผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน, หนังสือพิมพ์, การติดประกาศตามสถานที่ที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายจะไปใช้บริการ, การเข้าร่วมประชุมมูลนิธิหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้า อุตสาหกรรมและบริการ ในจังหวัด และการประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เป็นต้น
           2.2 วิธีการรับสมัครผู้สนใจสามารถสมัครได้หลายช่องทาง ทั้งที่เป็นจุดรับสมัครหน่วยงานภาครัฐเช่นอุตสาหกรรมจังหวัด และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด   หอการค้าจังหวัด และสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมสาขาจังหวัด เป็นต้น    หรือทางโทรสาร ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้สะดวกและทราบผลการสมัครโดยเร็ว
3.  การสัมภาษณ์และคัดเลือก 
        หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งควรประกอบด้วย การสอบข้อเขียน เพื่อทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดแนวคิดทางธุรกิจของผู้สมัคร การสอบปฏิบัติ เพื่อทดสอบทักษะด้านเทคนิค การสัมภาษณ์  เพื่อวัดทัศนคติ ค่านิยม และศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ
 4. การฝึกอบรมบ่มเพาะ
            4.1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการใหม่    ทุกปี เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสามารถส่งเสริมให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมสามารถจัดตั้งธุรกิจได้     โดยเนื้อหาหลักสูตรในปีงบประมาณ  พ.ศ.2551   ประกอบด้วย       การอบรมภาคทฤษฎีจำนวนไม่น้อยกว่า         96 ชั่วโมง  ปรึกษาแนะนำไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง และ ศึกษาดูงาน    ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า  162 ชั่วโมง
         4.2 วิธีการถ่ายทอดการฝึกอบรมบ่มเพาะ เน้นการเรียนรู้จากกรณีศึกษา   และการเรียนรู้เชิงปฏิบัติมากกว่าการเรียนรู้ในด้านทฤษฎี เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่างๆ ให้เกิดกระบวนการที่สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้
           4.3การช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถพัฒนาแนวคิดโครงการธุรกิจมาเป็นแผนธุรกิจรายบุคคลได้อย่างถูกต้อง ตรงตามหลักสากลนิยม
5.  การนำเสนอและปรับปรุงแผนธุรกิจ
      มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสพบผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนธุรกิจ      เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและการตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจในเบื้องต้น
6.  การให้บริการปรึกษาแนะนำ
         การให้คำปรึกษาแนะนำที่มีประสิทธิภาพและเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้เข้าอบรม    โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจ    หรือขยายธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ   ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ เช่น   ปัญหาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจ  การจัดหาผู้รับช่วงงาน เป็นต้น
7.  การติดตามและประเมินผล
           การติดตามความก้าวหน้าและสรุปรายงานผลสัมฤทธิ์การจัดตั้งธุรกิจของผู้เข้ารับการฝึกอบกรม      ทั้งในประเด็นของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ การขยายการลงทุน     การสืบทอดกิจการของทายาท และผลการเปลี่ยนแปลงในกิจการของผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้ว    ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการไว้แล้ว ได้แก่ มูลค่าการลงทุน การจ้างงาน การริเริ่มการผลิตหรือบริการ การจัดหาทำเลที่ตั้งธุรกิจ เป็นต้น
8.  การให้บริการต่อเนื่อง
           ภายหลังจาการเริ่มจัดตั้งธุรกิจ   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม    ยังมีเครื่องมือที่จะให้บริการต่อเนื่องแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่ สามารถดำรงอยู่และพัฒนาธุรกิจของตนต่อไปได้
4.จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
ตอบ  ระดับปฏิบัติการ คือ การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฏิบัติการเปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่น การประมวลผลการบันทึกและการรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ
           ระดับบริหาร คือ กระบวนการสารสนเทศจะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจโดยสามารถจำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางธุรกิจดังนี้
                วิธีที่ 1 ให้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
                วิธีที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
5.ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน ในช่วงเวลาที่ต้องการการตัดสินใจ แต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
ตอบ   สารสนเทศจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธุรกิจแต่ถ้าหากข้อมูลงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศคือ   การวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การช่วยลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจและส่งผลต่อการกำหนดนโยบายสินเชื่อในอนาคตทำให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่จัดได้อยู่ในระดับต่ำยังมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจ เพื่อทราบถึงนัยสำคัญของข้อมูลนั้น   อนึ่งธุรกิจอาจนำสารสนเทศมาใช้เพื่อการตัดสินใจ เช่น รายงานสรุปยอดขายรายไตรมาส    รายงานการจัดอันดับสินค้าขายดี เป็นต้น
6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
ตอบ   ในระดับปฏิบัติการต้องดูแลงานด้านต่างๆเช่น การประมวลผล การบันทึกและการรายงานเหตุการณทางธรกิจและทำให้เกิดการลังเลใจในการตัดสินใจแล้วเกิดการล่าช้าในการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดการเสียโอกาสและอาจทำให้เสียลูกค้า
7. การสั่งการของผู้บริหารระดับสูงในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคน  ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
 ตอบ   ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวนอนซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ที่ส่วนได้เสีย
8. จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
ตอบ  โครงสร้างกระบวนการธุรกิจมือถือมีรายละเอียดดังนี้
                1. กระบวนการปฏิบัติการ
                2. กระบวนการจัดการ
                3. กระบวนการสารสนเทศ
9. องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ    องค์การดิจิทัลจะเป็นการทำงานที่หลากหลายมิติโดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลซึ่งแตกต่างกับองค์การ
            ธุรกิจทั่วไปคือ องค์การธุรกิจทั่วไปจะอาศัยเพียงแต่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัลความถูกต้องแม่นยำก็มีน้อยกว่า
10. องค์การควนดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
ตอบ   ต้องมีการกำหนดวิธีโต้ตอบหลัก 7 วิธี
                1. การจัดการเชิงกลยุทธ์
                2. จุดศูนย์รวมลูกค้า
                3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
                4. การปรับกระบวนการทางดุลการค้า
                5. นวัตกรรมด้านการผลิต
                6. ธุรกิจอิเลกทรอนิคส์และอีคอมเมิร์ช
                7. พันธมิตรทางธุรกิจ



สรุป บทที่ 1

บทที่  1
บทนำ
            สำหรับการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบันนั้น  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการ การจัดการ และการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือ บ่อเกิดของการใช้สารสนเทศทางธุรกิจภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์นั่นเอง
ความรู้ด้านธุรกิจ
1.ธุรกิจ
            Albright and lngram (2004, p.3) ได้ให้นิยามไว้ว่า ธุรกิจ (Businss Entity) คือ องค์การ(Organization) หนึ่ง ซึ่งเสนอขายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรทางธุรกิจหรือการทำรายได้ให้กับองค์การ
            ฉวีวรรณ สภาจารีย์(2547,หน้า 10) ได้จำแนกรูปแบบขององค์การธุรกิจ ดังนี้
            รูปแบบที่ 1 เจ้าของคนเดียว  คือ องค์การขนาดเล็กที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของ และรับผิด ชอบในหนี้สินของร้านโดยไม่จำกัดจำนวนเงิน
            รูปแบบที่ 2 ห้างหุ้นส่วน คือ กิจการค้าที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าร่วมลงทุนโดยมุ้งหวังกำไร ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.  ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2.  ห้างหุ้นส่วนจำกัด
            รูปแบบที่ 3 บริษัทจำกัด คือ กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปแบบของนิติบุคคล ด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นงวด ๆ โดยไม่จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1.  บริษัทเอกชน
2.  บริษัทมหาชน
รูปแบบที่ 4 รัฐวิสาหกิจ หรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียนของรัฐเกิน 50 %
2.ประเภทของธุรกิจ
            Perry and Schneuder (2005, p.114) ไดจัดแบ่งประเภทของตลาดธุรกิจ ในตลาดปัจจุบันออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 หน่วยบริการ
ประเภทที่ 2 หน่วยค้าสินค้า
ประเภทที่ 3 หน่วยผลิตสินค้า
            กิจกรรมที่คุ้นเคยสำหรับทุก ๆ หน่วยผลิตสินค้า อาจจำแนกได้เป็น 4 กิจกรรม คือ
1.   การซื้อสัตถุดิบและการว่าจ้างแรงงาน
2.   การคำนวณต้นทุนการผลิต
3.   การประมวลผล ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต เข้าสู่ต้านทุนของสินค้าสำเร็จรูป
4.   การขายสินค้าสำเร็จรูป
            แต่หากเป็นกิจกรรมภายใต้หน่วยบริการและหน่วยค้าสินค้าก็อาจจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของธุรกิจนั้น ๆ โดนมุ่งเน้นถึงกิจกรรมด้านการให้บริการและการขายสินค้าเป็นหลักแต่ก็อาจมีกิจกรรมที่เหมือนกันภายใต้หน่วยธุรกิจที่ต่างกัน คือ การจักหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการดำเนินการเฉพาะด้านนั่นเอง
3.การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
            ในจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานทางธุรกิจ เจ้าของกิจการทั้งในรูปแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนและบริษัท จะต้องนำเงินมาลงทุนร่วมกันเพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นตามจุดประสงค์และรูปแบบการลงทุนทางธุรกิจ การดำเนินงานต่าง ๆ จะต้องเป็นไปเพื่อหารายได้เข้าสู่องค์การ ในขณะเดียวกันก็จะมีการสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยอาจเรียกการดำเนินการจัดตั้งธุรกิจว่า การเสี่ยงลงทุน (Venture)
4.หน้าที่งานทางธุรกิจ
            หน้าที่งานทางธุรกิจ (Business) หรือฟังก์ชันทางธุรกิจ มักถูกใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน การกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งาน มักจะกำหนดตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง  โดยความสันพันธ์ของการจัดหาทรัพยากรและใช้ทรัพยากรขององค์กร
5.การจัดโครงสร้างองค์กร
            การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่ จะดำเนินตามโครงสร้างองค์ของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรโดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ เพื่อให้รูปแบบของการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่  รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบ ตามหน้าที่ดังนี้
หน้าที่งาน 1 การจัดการวัตถุดิบ
หน้าที่งาน 2 การผลิต
หน้าที่งาน 3 การตลาด
หน้าที่งาน 4 การจัดจำหน่าย
หน้าที่งาน 5 ทรัพยากรมนุษย์
หน้าที่งาน 6 การเงิน
หน้าที่งาน 7 การบัญชี
หน้าที่งาน 8 การบริการคอมพิวเตอร์
ความรู้ด้านสารสนเทศ
1. ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
            ในส่วนหนี้จะกล่าวถึงใน 3 หัวข้อ คือ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) และความรู้(Knowledge)
2. คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
            สำหรับสารสนเทศที่ดี มีประโยชน์ และอยู่ในรูปแบบที่บ่งบอกความหมายสำหรับการตัดสินใจนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ  6 ประการ ดังนี้
2.1    ความตรงกันกรณี
2.2    ความทันต่อเวลา
2.3    ความถูกต้อง
2.4    ความครบถ้วนสมบูรณ์
2.5    การสรุปสาระสำคัญ
2.6    การตรวจสอบได้
3.  มูลค่าของสารสนเทศ
            สารสนเทศจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธุรกิจ เช่นเดียวกับทรัพยากรประเภทอื่น มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจและก่อให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศ (Value of Information)
4.  ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศ]
            การบริหารงานในองค์การ จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายของการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การไว้ด้วย อีกทั้งมีการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยสารสนเทศจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนและรักษาเป้าหมายขององค์การ ซึ่งจำแนกข้อจำกัดของการนำสารสนเทศไปใช้อย่างระมัดระวัง ได้ 2 ประการ คือ
1.   การเกิดภาระของสารสนเทศที่มากเกินความจำเป็น
2.   มาตรการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ความหมายและส่วนประกอบ
            Turban et al. (2006, p.21) ได้ให้นิยามไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ชุดของระบบคอมพิวเตอร์ ที่นำมาใช้ภายใจองค์การ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เทคโนโลยีพื้นฐานของระบบสารสนเทศที่ประกอบด้วย
1.   ฮาร์ดแวร์ คือ ชุดของอุปกรณ์
2.   ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลของฮาร์ตแวร์
3.    ฐานข้อมูล คือ ชุดแฟ้มข้อมูล
4.    เครือข่ายและโทรคมนาคม คือ ชุดของอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบที่มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันโดยเครื่องคอมที่ต่างกัน
5.   อุปรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คืออุปกรณ์วงจรไฟฟ้าบนเครือข่ายทั้งในรูปแบบใช้สายและไร้สาย
2.บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
          เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้สำหรับการดำเนินงานภายใต้กระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ
การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
1.กระบวนการทางธุรกิจ
1.1  กระบวนการปฏิบัติการ
1.2  กระบวนการจัดการ
1.3  กระบวนการสารสนเทศ
2.แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ
2.1  ระดับการปฏิบัติการ
2.2  ระดับบริหาร
3.สายงานด้านสารสนเทศ
3.1  สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง
3.1.1 การรายงานผลการปฏิบัติงาน
3.1.2 การงบประมาณและการสั่งการ
3.2  สายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน
3.2.1 การกระจายสารสนเทศภายในองค์การ
3.2.2 การกระจายสารสนเทศไปยังองค์การภายนอก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
                - หุ้นส่วนธุรกิจ
                - ผู้มีส่วนได้เสีย
สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
1.ระบบเศรษฐกิจ
            ระบบเศรษฐกิจภายใต้การดำเนินธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ มักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจยุคดิจิทัล ซึ่ง Turban et al. (2006, p.4) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า เศรษฐกิจยุคดิจิทัล หมายถึง เศรษฐกิจหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใชเทคโนโลยีดิจิทัล หรืออีกความหมายหนึ่งของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล คือ ภาวะที่บรรจบเข้าหากันระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคฌโนโลยีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอื่น
2.การจัดองค์การ
            สำหรับการดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จะปรากฤฏการจัดองค์การรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า องค์การดิจิทัล (Digital Organization) ซึ่ง Laudon and Laudon (2005, p. 7) ได้ให้ตำจำกัดความไว้ว่าองค์การดิจิทัล คือ องค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติ โดยอาศัยความสามารถก้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า ผู้จัดหารวมทั้งลูกจ้างองค์การ โดยมักมีการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้รวดเร็วกว่าองค์การรูปแบบอื่น ตลอดจนความสามารถด้านการปรับตัวให้มีความรู้อยู่รอดทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
3.แบบจำลองธุรกิจ            
             แบบจำลองธุรกิจ (Business Model) คือ วิธีการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลให้บริษัทสามาระสร้างรายได้เพื่อค้ำจุนองค์การให้อยู่รอด ซึ่งแบบจำลองนี้ จะอธิบายถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายค่าซื้อผลิตภัณฑ์ขององค์การ
4.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งก็คือ โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ และอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์แบบกระจาย โดยมีการเชื่อมต่อระบบระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครื่องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น
5.โอกาสของผู้ประกอบการ
            ในส่วนโอกาสของผู้ประกอบการทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จะต้องใช้วิธีการโต้ตอบต่อแรงกดดันทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ทั้งในวส่วนแรงกดดันทางธุรกิจด้านการตลาด และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจและใช้มาตราการที่ริเริ่มใหม่ เพื่อสร้างรายการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ กิจกรรมเช่นนี้ ครอบคลุมถึงการใช้แรงงานกดกันจากภายนอกธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุน
5.1    การจัดารเชิงกลยุทธ์
5.2    จุดศูนย์รวมลูกค้า
5.3    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
5.4    การปรับกระบวนการทางธุรกิจ
5.5    นวัตกรรมด้านการผลิตตามคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก
5.6    ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอีคอมเมิร์ซ
5.7    พันธมิตรทางธุรกิจ